Thaiwiring
»
บทความ

สถิติปี 2555-2564 พบคนไทยจมน้ำเสียชีวิต จำนวน 35,915 ราย หรือ เฉลี่ยวันละ 10คน !!!

                  การจมน้ำคือการที่จมลงใต้น้ำแล้วหายใจเอาน้ำเข้าไปในปอด และกลืนกินน้ำเข้าไป จนมีผลต่อร่างกาย ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ มักเกิดกับคนที่ว่ายน้ำไม่เป็น หรือคนที่ว่ายน้ำเป็นแต่อยู่ในภาวะซึ่งช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ทั้งนี้การจมน้ำในน้ำจืดจะใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที และในน้ำเค็มจะใช้เวลาประมาณ 7-8 นาที

ข้อแนะนำเพื่อการเอาชีวิตรอดในน้ำ
1. พลัดตกน้ำอย่าตกใจ ตั้งสติไว้ไม่รนราน
2. ลอยตัวให้ได้นาน เพื่อรอการมาช่วยเหลือ

                  การช่วยเหลือคนตกน้ำหรือจมน้ำ สิ่งสำคัญประการแรกคือ “ต้องมีสติ อย่าผลีผลาม” จากนั้นวิธีการช่วยเหลือที่ถูกต้องมีหลักง่ายๆ อยู่ 4 วิธี คือ                                  “ยื่น – โยน – พาย – ลาก”

“ยื่น”อุปกรณ์ให้จับ เช่น เสื้อผ้า เข็มขัด ท่อนไม้ ห่วงหรือไม้ตะขอ

“โยน”อุปกรณ์ที่ลอยน้ำให้เกาะ เช่น ถังพลาสติก ห่วงชูชีพ ยางในรถยนต์

“ลากหรือพา” โดยหากผู้จมน้ำเป็นคนที่ว่ายน้ำเป็น แต่แค่หมดแรงหรือเป็นตระคริว ไม่ตระหนกตกใจ ผู้ช่วยเหลือจะสามารถลากพาได้ง่าย จะไม่ค่อยมีอันตราย ส่วนการลากพาคนจมน้ำที่ตื่นตกใจ จะต้องใช้ทักษะพิเศษ โดย ต้องใช้ท่า Cross chest คือการเอารักแร้เราหนีบบนบ่าเขา แขนพาดผ่านหน้าอกแบบสะพายแล่งไปจับซอกรักแร้อีกด้าน และว่ายน้ำด้วยท่าSide stroke ซึ่งเป็นท่าที่เหนื่อย หนักแรงและมีอันตรายมากๆ สำหรับคนจมน้ำที่สลบ ต้องใช้ท่าลาก/พาที่ประคองหน้าให้ปากและจมูกพ้นน้ำ เพื่อหายใจได้ตลอด แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น สิ่งสำคัญที่ผู้ช่วยเหลือ จะต้องมีความรู้ คือ การปฐมพยาบาลคนจมน้ำก่อนส่งแพทย์

                   หากไม่สามารถช่วยได้ ให้โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ขอความช่วยเหลือและมองตำแหน่งคนจมน้ำไว้ตลอดเวลา เมื่อนักดำน้ำกู้ภัยมาถึง เราจะได้แจ้งจุดตำแหน่งที่คนจมน้ำ อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอเจ้าหน้าที่มาถึงที่จุดเกิดเหตุ กระแสน้ำอาจพัดพาคนจมน้ำห่างออกจากจุดที่จมน้ำ ดังนั้น อุปกรณ์ค้นหาใต้น้ำ จึงมีประโยชน์กับเจ้าหน้าที่มาก
AquaEye คือ เครื่องสแกนโซนาร์ประมวลผลด้วย AI ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ค้นหามนุษย์โดยเฉพาะ ซึ่งเครื่องสแกนโซนาร์ที่มีอยู่ตามท้องตลาดจะเหมาะสำหรับสแกนปลาหรือวัตถุทั่วไป แต่ AquaEye ที่ระบบ AI ที่สามารถประมวลขนาดและมวลน้ำหนักที่เป็นมนุษย์โดยเฉพาะ โดยอุปกรณ์นี้สามารถสแกนและประเมินสถานการณ์ใต้น้ำได้กว้างถึง 8,000 ตารางเมตร ทำให้เจ้าหน้าที่กู้ภัยสามารถวางแผนการปฏิบัติการได้ทันท่วงที

                     ใช้บริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน หรือเมื่อพบเห็นผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ คนจมน้ำ ตกน้ำ สามารถโทรสายด่วน 1669 ขอความช่วยเหลือ
บริการฟรีตลอด 24 ชั่วโมง

                     ตามกฎหมายแล้วหากเราเห็นคนจะจมน้ำตาย หรือตกในอันตรายต่อชีวิต เราไม่ควรกลัว ต้องช่วยตามความจำเป็น หากไม่ช่วยใด ๆ เลย และปล่อยจนเขาจมน้ำตาย การกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 374 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

วีดีโอสาธิตการทำงานของ AquaEye Updated: มีนาคม 21, 2024

รถไฟฟ้า (EV) ไม่มีถังเชื้อเพลิงที่ระเบิดได้ แต่ทำไมการดับไฟจึงเป็นไปได้ยากกว่ามาก?

 เคยสงสัยไหมว่า รถไฟฟ้า (EV) ไม่มีถังเชื้อเพลิงที่ระเบิดได้เหมือนกับเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล แต่ทำไมการดับไฟจึงเป็นไปได้ยากกว่ามาก

คำตอบ :  เคมี
               สารเคมีและองค์ประกอบที่ประกอบเป็นเซลล์แต่ละเซลล์ภายในชุดแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้ามีความอ่อนไหวมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลิเธียมไอออนที่ EV สมัยใหม่ส่วนใหญ่ใช้ หาก EV ประสบอุบัติเหตุร้ายแรงมากและชุดแบตเตอรี่เสียหาย เซลล์แบตเตอรี่อาจแตกได้ และเซลล์จะร้อนขึ้นอย่างต่อเนื่องอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ณ จุดนี้ เซลล์ต่างๆ อาจติดไฟได้ ซึ่งจะลุกลามไปทั่วเซลล์
                ไม่เพียงแต่ดับไฟยากเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มที่จะลุกไหม้อีกครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ บางครั้งหลายวันหลังจากเกิดเพลิงไหม้ครั้งแรก นอกจากนี้ควันจากไฟ EV เป็นพิษร้ายแรงมากอันตรายถึงชีวิตได้
                  เมื่อปี 2566 ในประเทศสหรัฐอเมริกา รถยนต์ Tesla Model Y ชนและเกิดเพลิงไหม้ในคืนวันคริสต์มาส ส่งผลให้ทางหลวงระหว่างรัฐในรัฐอลาบามาต้องปิดหน่วยฉุกเฉินมาถึงที่เกิดเหตุและต้องใช้น้ำปริมาณมหาศาล 1,360,000 ลิตรในการดับไฟ และเจ้าหน้าที่ยังต้องคอยเฝ้าสังเกตการณ์อีกหลายวันเพื่อให้มั่นใจว่าจะเซลล์แบตเตอรี่จะไม่ร้อนและเกิดปะทุขึ้นอีกครั้ง
                  Boxwall กำแพงกั้นน้ำ (คิดค้นและผลิตที่ประเทศสวีเดน) จึงถูกนำมาใช้ในการช่วยดับไฟรถEV โดยBoxwall ถูกนำมาใช้เป็นสระน้ำชั่วคราว เพื่อช่วยประหยัดน้ำในการดับไฟ, ลดอุณหภูมิเซลล์แบตเตอรี่, และป้องกันไม่ให้น้ำที่ใช้ดับไฟ EVซึ่งมีสารปนเปื้อน ไหลลงสู่ท่อระบายน้ำ และอาจเป็นอันตรายต่อผู้อื่น

สาธิต NOAQ Boxwall (กำแพงกั้นน้ำ) ในการเบี่ยงทิศทางน้ำและควบคุมการไหม้ของแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) Updated: มีนาคม 21, 2024

ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ อันตรายกว่าที่คุณคิด!

              องค์กรอนามัยโลก (WHO) ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ หากเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่เกินกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งบางวันตรวจพบปริมาณฝุ่นในอากาศสูงเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นับว่าเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขในประเทศไทย
                  ฝุ่น PM 2.5 เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2.5 ไมโครเมตร หรือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ซึ่งมีขนาดเล็กมากสามารถผ่านลึกเข้าไปในถุงลมของปอด ซึ่งเป็นถุงลมที่ปกคลุมไปด้วยหลอดเลือด เมื่ออนุภาค PM 2.5 เข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางถุงลม จะทำให้เกิดการอักเสบและหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจและสมอง ผลวิจัยชี้ว่าลิ่มเลือดนี้มีความเชื่อมโยงกับโคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
                วิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5
              1. ปิดประตูและหน้าต่างอาคารให้มิดชิด โดยเฉพาะที่พักอาศัย
              2. ใช้เครื่องฟอกอากาศ โดยเฉพาะอาคารที่มีผู้คนเดินเข้าออกจำนวนมาก
              3. หมั่นตรวจเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน หากค่า PM 2.5 สูงเกินระดับมาตรฐาน ควรสวมใส่หน้ากาก N95
              4. ปลูกต้นไม้บริเวณที่พักอาศัย/
              5. ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดมากๆ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง
ตรวจสอบค่าฝุ่น Updated: มีนาคม 21, 2024

ฝนตก น้ำท่วม รถติด ปัญหาของคนกรุงเทพ!

                ทำไมฝนตกแล้วต้องรถติด? เป็นคำถามที่หลายๆคนก็คงสงสัย ซึ่งผ่านมาหลายยุคหลายสมัยก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่ของคนกรุงเทพ เขตพื้นที่ที่เสี่ยงที่สุดในการเกิดน้ำท่วมในกรุงเทพ คิดเป็น 50% ของพื้นที่กรุงเทพมหานครหรือ 784.089 ตารางกิโลเมตร คือ เขตราชเทวี ดินแดง พญาไท วังทองหลาง จตุจักร (ประเมินจาก 8 ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดน้ำท่วมในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ การใช้พื้นที่, ปริมาณน้ำฝน, ระดับน้ำทะเล, ดินทรุด, ความลาดเอียง, ความหนาแน่นของถนน, ความหนาแน่นของคลอง, จำนวนครั้งของน้ำท่วมในอดีต)
                  บทความนี้จะมาไขข้อข้องใจให้ทราบกันว่า ทำไมฝนตกแล้วต้องรถติด?
                1.น้ำท่วมขังบนพื้นผิวจราจร บริเวณที่มีฝนตกในปริมาณที่มากและระบายน้ำไม่ดี จะทำให้ถนนบริเวณนั้นเกิดน้ำท่วมขังได้ ทำให้รถที่สัญจรไปมาต้องลดชะลอความเร็ว หรือไม่สามารถสัญจรในบางช่องทางการจราจร เนื่องจากเกิดน้ำท่วมขังสูง
                2.รถเคลื่อนตัวช้าลง วิสัยทัศน์ในการขับขี่แย่ลงทั้งในส่วนของฝนที่โปรยปรายลงมาและท้องฟ้ามืดครึ้ม ทำให้ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังในการสัญจรมากขึ้น อีกทั้งฝนตกทำให้ถนน เปียกและลื่น
                3.ปริมาณพาหนะสัญจรมากขึ้น เพื่อป้องกันการเปียกฝน คนที่ปรกติใช้รถจักรยานยนต์หรือรถขนส่งสาธารณะ ก็เลือกที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวในวันฝนตก
                4.เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน ด้วยวิสัยทัศน์ในการขับขี่ไม่ดีร่วมกับถนนลื่น จึงมักเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งเมื่อฝนตก ไม่ว่าจะเป็นรถชน หรือรถตกข้างทาง ทำให้บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุเคลื่อนตัวได้ ยากลำบากขึ้น ยิ่งถ้าเกิดอุบัติเหตุขึ้นหลายจุด ก็จะยิ่งทำให้การจราจรติดขัดแผ่ขยายเป็นวงกว้างขึ้นไปอีก
เราได้รวบรวมเว็บไซต์ที่มีประโยชน์ในการอัพเดทสถานการณ์น้ำท่วมและการจราจรมาฝากกันด้วย

ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานครสำนักการระบายน้ำกรมอุตุนิยมวิทยาเช็คสภาพการจราจรล่าสุด Updated: มีนาคม 21, 2024
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 thaiwiring.com
envelopephone-handsetphonechevron-down
thTH