Thaiwiring
»
นวัตกรรม
»
โครงการ “การทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์ลดการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาในชายหาดเกาะแต้ว
เขารูปช้าง จังหวัดสงขลา”
พฤษภาคม 21, 2022

โครงการ “การทดสอบประสิทธิภาพอุปกรณ์ลดการกัดเซาะชายฝั่ง กรณีศึกษาในชายหาดเกาะแต้ว
เขารูปช้าง จังหวัดสงขลา”


ตาข่ายลดการกัดเซาะ (Derosion lattice, รูปที่ 1) เป็นโครงสร้างชั่วคราว สำหรับส่งเสริมการสะสมของตะกอนบริเวณชายฝั่ง ได้รับการออกแบบโดยนักวิจัยชาวไต้หวันและใช้ได้ผลดีในการสะสมตะกอนทรายบริเวณชายฝั่งของประเทศไต้หวัน (Chyan-Deng .et al., 2015; Ze-an Zhang and Ta-Hsiung Peng, 2019) ในบริเวณชายหาดที่ถูกคลื่นทะเลกัดเซาะ สำหรับชายฝั่งทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันตกของประเทศไทยจะได้รับคลื่นรุนแรงช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและพายุจรทำให้ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะในระดับต่างๆ กัน เมื่อสร้างโครงสร้างแข็งบริเวณชายฝั่งเพื่อป้องกันชายฝั่งถูกกัดเซาะก็ส่งผลให้บริเวณชายฝั่งที่ไม่มีโครงสร้างป้องกันถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง (End effect) จึงมีแนวคิดในการนำตาข่ายลดการกัดเซาะมาช่วยบรรเทาการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณปลายโครงสร้างแข็งป้องกันชายฝั่ง โดยติดตั้งเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่ชายหาดบ้านเกาะแต้ว ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งประสบปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะในทันทีภายหลังจากกรมเจ้าท่าก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งป้องกันชายฝั่ง ตาข่ายลดการกัดเซาะที่เลือกใช้ครั้งนี้มียาว 20 เมตรถูกติดตั้งที่ปลายเขื่อนหินทิ้งเมื่อ 4-7 กันยายน พ.ศ. 2564

วัตถุประสงค์หลักของงานวิจัยนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพของตาข่ายดักตะกอนในการลดพลังงานคลื่นที่จะเข้ามากระทบกับชายฝั่ง และส่งเสริมการตกสะสมของตะกอนที่ชายฝั่งเพื่อช่วยลดแนวชายฝั่งถอยร่น โดยมีสมมุติฐานของโครงการคือตาข่ายลดการกัดเซาะสามารถลดพลังงานคลื่นจากทะเลเข้าสู่ฝั่งและมีตะกอนทรายมาสะสมบริเวณด้านหลังโครงสร้าง

Download Document

natcha.soisom@gmail.com

Writer

สินค้าที่เกี่ยวข้อง

ไม่มีหมวดหมู่ กรกฎาคม 7, 2022
อุปกรณ์ลดการกัดเซาะชายฝั่ง (Derosion Lattice)

นวัตกรรม Flexible high-strength net breakwater ของทีมผู้เชี่ยวชาญ ด้าน Hydraulic & Ocean Engineering และ Civil Engineering โดยที่บริษัท ไทย ไวร์ริ่ง ซิสเต็ม จำกัด ได้นำมาศึกษาวิจัยร่วมกับ  สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาลัยนวัตกรรมการผลิตขั้นสูง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, วิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ (ศูนย์หันตรา), สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับการใช้งานในประเทศไทย ถูกออกแบบโดยประยุกต์หลักการทางฟิสิกส์ และประสบการณ์ด้านวิศวกรรมทางทะเลอันยาวนาน ได้มีการศึกษาวิจัย และทดสอบ ตลอดจนพัฒนาอุปกรณ์ให้สามารถใช้งานได้มีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายในการลดพลังงานคลื่นและดักจับสะสมตะกอนทราย

Read More →
สงวนลิขสิทธิ์ © 2024 thaiwiring.com
envelopephone-handsetphonechevron-down
thTH