องค์กรอนามัยโลก (WHO) ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ หากเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่เกินกว่า 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งบางวันตรวจพบปริมาณฝุ่นในอากาศสูงเกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร นับว่าเป็นวิกฤตด้านสาธารณสุขในประเทศไทย
ฝุ่น PM 2.5 เป็นอนุภาคที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 2.5 ไมโครเมตร หรือเพียง 3 เปอร์เซ็นต์ของเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นผมมนุษย์ ซึ่งมีขนาดเล็กมากสามารถผ่านลึกเข้าไปในถุงลมของปอด ซึ่งเป็นถุงลมที่ปกคลุมไปด้วยหลอดเลือด เมื่ออนุภาค PM 2.5 เข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางถุงลม จะทำให้เกิดการอักเสบและหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดซึ่งไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังหัวใจและสมอง ผลวิจัยชี้ว่าลิ่มเลือดนี้มีความเชื่อมโยงกับโคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม
วิธีรับมือกับฝุ่น PM 2.5
1. ปิดประตูและหน้าต่างอาคารให้มิดชิด โดยเฉพาะที่พักอาศัย
2. ใช้เครื่องฟอกอากาศ โดยเฉพาะอาคารที่มีผู้คนเดินเข้าออกจำนวนมาก
3. หมั่นตรวจเช็คค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้าน หากค่า PM 2.5 สูงเกินระดับมาตรฐาน ควรสวมใส่หน้ากาก N95
4. ปลูกต้นไม้บริเวณที่พักอาศัย/
5. ออกกำลังกาย ดื่มน้ำสะอาดมากๆ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง